wibiya widget

ทดสอบ ภาพ

...............ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ วัดศรีทองพัฒนาราม ๑๔๕ หมู่ ๖ ตำบลบึงสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร ๖๒๒๑๐.............

.......

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

บทกิจวัตร แสดงอาบัติ ลาสิกขา

บทกิจวัตรเมื่อเป็นพระ
๑.ลงอุโบสถ (ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น)
๒.บิณฑบาตรเลี้ยงชีพ
๓.สวดมนต์ไหว้พระ
๔.กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
๕.รักษาผ้าครอง
๖.อยู่ปริวาสกรรม
๗.โกนผม ปลงหนวด ตัดเล็บ
๘.ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติพระอาจารย์
๙.เทศนาบัติ
๑๐.พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น (ให้รู้จักข่มใจ เว้นแต่ความจำเป็น ๔ อย่างคือ จีวร บิณฑบาตร เสนาสนะ และเภสัช)

วิธีแสดงอาบัติ
เมื่อใดที่รู้ว่าต้องอาบัติในข้อใดข้อหนึ่ง ต้องแสดงอาบัติกับพระรูปใดรูปหนึ่งเพื่อเป็นพยานดังนี้
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (ว่า ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรจามิ (ว่า ๓ ครั้ง)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ
(พระที่พรรษาแก่กว่ารับว่า)
อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ
(พระที่พรรษาอ่อนกว่า)
สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสาม
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (กล่าว ๓ ครั้ง)
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุยหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ
(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
อามะ อาวุโส ปัสสามิ
(พระที่พรรษาอ่อนกว่ารับว่า)
อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถะ
(พระที่พรรษาแก่กว่าว่า)
สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ

ขั้นตอนและบทท่องจำก่อนสึก
ไปแสดงตนต่อพระอุปัชฌาย์เพื่อแจ้งความจำนงขอลาสิกขา มีพระสงฆ์นั่งเป็นพยานเข้าประชุมพร้อมกัน ภิกษุเมื่อจะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติแล้ว พาดผ้าสังฆาฏิเข้าไปนั่งหันหน้าตรงพระพุทธรูปบนที่บูชา กราบ ๓ ครั้ง ประนมมือ กล่าว นะโม... ๓ จบ แล้วกล่าวดังนี้

สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ

(ข้าพเจ้าลาสิกขา ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นคฤหัสถ์)

สำหรับแบบมหานิกายจะจบเพียงเท่านี้ แต่ในการลาสิกขาบทแบบธรรมยุตจะมีต่อไปอีกคือ
เมื่อกล่าวเสร็จแล้วกราบพระสงฆ์ผู้มาเป็นพยานลง ๓ ครั้ง แล้วเข้าไปเปลี่ยนผ้าขาวแทนผ้าเหลืองโดยใช้สอดเข้าด้านในผ้าเหลือง แล้วห่มผ้าขาว หันหน้าเข้าหาพระสงฆ์ กราบลง ๓ ครั้ง กล่าวว่า เอสาหัง ภันเต สุจิรปรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ
อุปาสะกัง มัง สังโฆ ธาเรตุ อัชชตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง (ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้วนั้น กับพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็น ต้นไป)
เสร็จแล้วพระที่เป็นประธานกล่าวคำให้ศีล ก็ว่าตามท่าน (ตอนนี้ถือว่าเป็นคฤหัสถ์แล้ว) จนท่านสรุปว่า อิมานิ ปัญจะ สิกขาปทานิ นิจจสีลวเสน สาธุกัง รักขิตัพพานิ เราก็รับว่า อาม ภันเต พระท่านก็จะกล่าวต่อว่า สีเลน สุคติ ยันติ... จนจบ เราก็กราบท่านอีก ๓ ครั้ง ถือบาตรน้ำมนต์ออกไปอาบน้ำมนต์ เมื่อพระภิกษุเริ่มหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ท่านก็จะเริ่มสวดชัยมงคลคาถาให้ เสร็จแล้วอุบาสกก็ผลัดผ้าขาวอาบน้ำ แล้วก็นุ่งผ้าเป็นคฤหัสถ์ (ปกติจะเป็นชุดใหม่ทั้งหมด เพราะถือเหมือนว่าเป็นการเริ่มชีวิตใหม่เลยทีเดียว) เสร็จแล้วเข้ามากราบพระสงฆ์อีก ๓ ครั้งเป็นอันเสร็จพิธี

คุณสมบัติของผู้ที่จะบวชได้

สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมจะมาอยู่ในสมณเพศ การหละหลวมในการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่จะมาบวชให้คนทั่วไปเขา กราบไหว้ นับถือ มีส่วนทำให้สถาบันศาสนาสั่นคลอน ดังจะเห็นได้จากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นว่า คนเคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญามาบวชเป็นพระแล้วก็นอกจากจะไม่อยู่ในศีลแล้วยัง ก่อคดีอุกฉกรรจ์อีกจนได้
ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณรหรือพระได้ต้องมีคุณสมบัติดังนี้


๑.เป็นสุภาพชนที่มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย เช่นติดสุราหรือยาเสพติดให้โทษเป็นต้น และไม่เป็นคนจรจัด
๒.มีความรู้อ่านและเขียนหนังสือไทยได้
๓.ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ
๔.ไม่เป็นคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินผูกพัน
๕.เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้ ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถหรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ
๖.มีสมณบริขารครบถ้วนและถูกต้องตามพระวินัย
๗.เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ

ต่อไปนี้เป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้จะบวชได้แก่

๑.เป็นคนทำความผิด หลบหนีอาญาแผ่นดิน
๒.เป็นคนหลบหนีราชการ
๓.เป็นคนต้องหาในคดีอาญา
๔.เป็นคนเคยถูกตัดสินจำคุกฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ
๕.เป็นคนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา
๖.เป็นคนมีโรคติดต่ออันน่ารังเกียจ เช่นวัณโรคในระยะอันตราย
๗.เป็นคนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

สิ่งต่างๆ ข้างต้นจะมีเขียนถามไว้ในใบสมัครขอบวชซึ่งต้องไปเขียนที่วัดนั้นๆ

การเตรียมตัวก่อนบวช

ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้



เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้ได้แก่
๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเคียว
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก
๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔.สันถัต (อาสนะ)
๑๕.หีบไม้หรือกระเป๋าหนังสำหรับเก็บไตรครอง

ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่าอัฏฐบริขารซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่างคือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นก็แล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์

ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ
๑.ไตรแบ่ง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
๒.จีวร สบง อังสะ (อาศัยหรือสำรอง) และผ้าอาบ ๒ ผืน
๓.ย่าม ผ้าเช็ดหน้า นาฬิกา
๔.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา
๕.รองเท้า ร่ม
๖.ที่นอน เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง (อาจอาศัยของวัดก็ได้)
๗.จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดมือ ปิ่นโต กระโถน
๘.ขันน้ำ สบู่ กล่องสบู่ แปรง ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว
๙.ธูป เทียน ดอกไม้ (ใช้สำหรับบูชาพระรัตนตรัย)
๑๐.ธูป เทียน ดอกไม้ *(อาจใช้แบบเทียนแพรที่มีกรวยดอกไม้ก็ได้ เอาไว้ถวายพระอุปัชฌาย์ผู้ให้บวช)
*อาจจะเตรียมเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์และพระในพิธีนั้นอีกรูปละหนึ่งชุดก็ได้ ขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์และศรัทธา

คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช

"กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพาน เทอญ"


การบวชนาคและแห่นาค
การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ

* หัวโต หรือห้วสิงโต (มีหรือไม่ก็ได้)
* แตร หรือ เถิดเทิง (มีหรือไม่ก็ได้)
* ของถวายพระอุปัชฌาย์ คู่สวด
* ไตรครอง ซึ่งมักจะอุ้มโดยมารดาหรือบุพการีของผู้บวช (มีสัปทนกั้น)
* ดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม ให้ผู้บวชพนมมือถือไว้ (มีสัปทนกั้น)
* บาตร และตาลปัตร จะถือและสะพายโดยบิดาของผู้บวช
* ของถวายพระอันดับ
* บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช

เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต
เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป อาจจะอุ้มข้ามธรณีประตูไปเลยก็ได้ เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวช

ประวัติความเป็นมาของคำว่า "นาค"

ชายเมื่อมีอายุครบ20ปีบริบูรณ์ จะสามารถอุปสมบท หรือบวช เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาธรรมวินัยนำมาเป็นหลักในการประพฤติปฎิบัติต่อไปในการออกมาครอง เรือนในภายภาคหน้าได้ สำหรับก่อนการบวชเรียนจะมีการไปอยู่วัดเพื่อเตรียมฝึกหัดในการท่องคำขานนาค และฝึกหัดซ้อมเกี่ยวกับวิธีบวช ในช่วงที่มาอยู่วัดนี้ ชาวบ้านจะเรียกผู้เตรียมตัวจะบวชว่า "นาค" หรือ " "พ่อนาค" "
อาจมีหลายๆคนสงสัยว่า ทำไมต้องเรียกผู้จะบวชว่านาค ทำไมไม่เรียกชื่ออื่น ประวัติความเป็นมาของคำว่า ""นาค" อาจทำให้หลายๆคนหายข้องใจได้ ซึ่งประวัติของคำว่า "นาค" มีดังนี้
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์อยู่ มีพญานาคผู้หนึ่งได้แปลงร่างเป็นมนุษย์เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ อยู่มาวันหนึ่งได้เผลอนอนหลับ ร่างจึงกลับกลายเป็นพญานาคดั่งเดิม ภิกษุอื่นไปพบเข้าก็เกิดความเกรงกลัว เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงเรียกมาตรัสถาม ได้ความว่าเพราะเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงปลอมตัวมาบวช พระพุทะองค์ทรงดำริว่าสัตว์ดิรัจฉานไม่อยู่ในฐานะควรจะบวชจึงโปรดให้ลงเพศ บรรพชิตกลับไปเป็นาคดั่งเดิม แต่ภิกษุนั้นมีความอาลัย จึงขอฝากชื่อนาคไว้ในพระพุทธศาสนา ดังนั้นจึงมีคำเรียกขานคนที่ต้องการจะบวชว่า "นาค" สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

(ที่มา:ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย)
.....
บทความจาก
http://www.kmitl.ac.th/buddhist/tumma/monkhood.htm

การบวชคืออะไร

1.เป็นการค้นหาอะไร ที่มันดีกว่าอยู่บ้านเรือน
2.ให้เป็นการทดลองอยู่อย่างไม่มีทรัพย์สมบัติ อยู่อย่างต่ำต้อย พระเณรรูปไหนที่จะบวชเพียงเดือนเดียว ก็ขอขอให้ถือเป็นโอกาสทดลองว่า จะมีชีวิตอยู่อย่างต่ำต้อย ไม่ต้องมีสมบัติเลย
3.ทดลองการบังคับตัว บังคับจิต บังคับความรู้สึก บังคับ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
4.ทดลองสละทรัพย์สมบัติ ของรัก ของพอใจ ทดลองไปทุกสิ่งทุกอย่างที่ควรทดลอง
5.ประโยชน์ต่อตัวผู้บวช ได้เรียนรู้ธรรมะ ได้ปฏิบัติจริงได้ผลจริงๆ และได้รับสิ่งใหม่ที่ดีที่สุด คือเรื่องของพระธรรม ที่ทำให้บุคคลนั้นพ้นจากความทุกข์
6.ประโยชน์ต่อญาติผู้บวช ญาติพี่น้องทั้งบิดามารดา จะได้ใกล้ชิดพระศาสนามีความปิติยินดีในธรรมและศาสนามากขึ้น เรียกว่า เป็นญาติทางศาสนานั้นเอง ประโยชน์ทั้งหลายต่อสัตว์ทั้งหลาย ที่เวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสาร และทั้งประโยชน์ต่อพระศาสนาเนื่องจากผู้บวช จะเป็นผู้เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่บุคคลทั่วไป และยั่งเป็นผู้สืบอายุพระศาสนาไว้ ให้คงอยู่คู่ลูกหลานคนไทยสืบไป

ในเมื่อบวชได้เพียงหนึ่งเดือน มันก็จะเป็นการบวชที่มีอานิสงค์มหาศาล อย่างที่ท่านอาจารย์แต่กาลก่อนท่านพูดไว้เป็นอุปมา เพื่อการคำนวณเพราะว่าไม่อาจจะพูดเป็นอย่างอื่น คือท่านพูดว่า ให้เอาฟ้าทั้งหมดนี้เป็นเหมือนแผ่นกระดาษ แล้วภูเขาพระสุเมรุเป็นเหมือนปากกาหรือพู่กัน ให้เอาแผ่นดินเป็นเหมือนกับหมึก เอาน้ำในมหาสมุทรเป็นน้ำละลายหมึก แล้วเขียนกันให้เป็นท้องฟ้า มันก็ไม่หมดอานิสงค์ของการบวช ท่านไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร ก็เลยพูดไว้เป็นอุปมาอย่างนั้น ว่าการบวช ถ้าบวชกันจริงมันมีอานิสงค์มากกว่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

บำบัดความเครียด... สมาธิบำบัด

เครียด เครียด เครียด .........
 
เครียด เครียด เครียด ชีวิตประจำวันของคนทำงานทำให้ดัชนีความเครียดของคนไทยพุ่งสูงปรี๊ด ความเครียดทำให้สุขภาพเราแย่ลง ทำให้เราป่วยง่ายขึ้น ที่สำคัญสำหรับสาวๆ เครียดมากๆทำให้หน้าแก่ก่อนวัยได้นะ เมื่อเรารู้สึกเครียดร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ถ้าเครียดมากก็หลั่ง Adrenaline มากขึ้นฮอร์โมนความเครียดก็จะไปยับยั้งการทำงานของอวัยวะสำคัญทั้งหมด เช่นหัวใจ ไต ตับ ปอด ทำให้อวัยวะสำคัญของเราเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็พร้อมใจกันหยุดทำงานเพราะฮอร์โมนความเครียดไปทำให้ภูมิต้านของร่าง กายเราต่ำลง ต่ำลง เรียกว่าโรคเครียดนอกจากทำแก่ง่ายแล้วยังทำให้ถึงตายได้นะเนี่ย


- ผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำสมาธิ
การทำสมาธิถือได้ว่าเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุด สมาธิทำให้จิตใจสงบนิ่ง แต่มีสติ หยุดความคิดที่ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล หรืออารมณ์ด้านลบทั้งหลาย เมื่อเราทำสมาธิจะรู้สึกสบายขึ้นเพราะจะมี Hormoneชื่อ Endorphins หลั่งออกมาในขณะที่จิตใจสงบนิ่ง ฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ก็จะหยุดหลั่ง และในขณะนั้นเองเมื่อจิตสงบสมองส่วน Hypothalamus จะสั่งให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น ภูมิต้านทานของเราก็จะสร้างเพิ่มขึ้นหลังจากถูกยับยั้งด้วยฮอร์โมนความ เครียด การทำสมาธินี้ดีมาก มาก สำหรับคนที่กำลังบำบัดมะเร็งเพราะ เมื่อภูมิต้านทานกระเตื้องขึ้นการกำจัดcell มะเร็งก็จะเป็นไปตามที่ต้องการ  


- ทำสมาธิแบบไหนดี?
การทำสมาธิที่สามารถบำบัดโรคที่เกิดจากความเครียด ความกังวล ไม่ใช่โรคที่เกิดจากเชื้อโรคโดยตรง แต่สามารถรักษาใจที่เป็นทุกข์อันเกิดจากโรคได้ วิธีฝึกสมาธิบำบัดมีหลายวิธี ได้แก่ การนั่งภาวนา เดินจงกรม การแผ่เมตตา การอธิษฐานจิต การฝึกใช้พลังภายในร่างกาย การใช้พลังภายนอก การฝึกเพ่งลูกแก้ว และอย่างน้อยควรทำวันละ 2 ครั้ง ถ้าทำได้
- ท่าที่สบายที่สุด
จะนั่งขัดสมาธิหรือจะนอนหงายวางแขนไว้ข้างตัวก็ได้ ให้เป็นท่าที่เรารู้สึกสบายตัวที่สุด แล้วก็เลือกสถานที่ที่เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายๆไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป อุณหภูมิในห้องสบาย ๆ
หลับตาลงจะได้ตัดตัวเองออกจากโลกภายนอก จิตจะได้สงบง่ายขึ้น แล้วเริ่มด้วยการกำหนดลมหายใจโดยสูดหายใจเข้าช้า ๆ ให้ท้องพอง หายใจออกช้า ๆให้ท้องแฟบ สัก 3 ครั้ง ให้สังเกตลมที่ผ่านเข้าออกทางจมูกว่ากระทบถูกอะไรบ้าง
จากนั้นให้หายใจให้สบาย กำหนดจิตของตนไปรับรู้ลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องสนใจเสียงรอบข้าง ให้รับรู้เฉย ๆ ถ้าจิตมันจะวอกแวกนึกนั่นนึกนี่ แว่บไปหาเพื่อนคนโน้นคนนี้ นึกห่วงงานที่นั่นที่นี่บ้างก็ดึงสมาธิกลับมาอยู่กับลมหายใจ แรก ๆ อาจทำยากมาก เหมือนเราหัดเดินตั้งไข่ครั้งแรก ล้มบ้าง ลุกบ้างแต่ถ้าพยายามเข้าในที่สุดเราก็จะเดินได้การทำสมาธิก็เช่นกัน ถ้าเราพยายามขยันดึงจิตกลับมาอยู่กับลมหายใจ ทำซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ ในที่สุดจิตก็จะเชื่อง และเริ่มนิ่ง เมื่อเข้าถึงสมาธิก็จะได้ความรู้สึกปีติรู้สึกสบายอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมา ก่อน เพราะ ฮอร์โมนEndorphins หลั่งออกมา และ ฮอร์โมนความเครียด Adrenaline ที่ต่อมหมวกไตก็จะหยุดหลั่งออกมา และเมื่อเข้าสมาธิได้แล้วก็ควรทำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ๆ ละไม่ต่ำกว่า 15 นาที

เทคนิคการฝึกหายใจ
โดยปกติแล้วการหายใจด้วยอก ชีพจรจะเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย ต้องหายใจถี่ๆแต่ถ้าหายใจด้วยท้องชีพจรจะเต้นช้า ในทางวิทยาศาสตร์เราอธิบายได้ว่าเป็นการกระตุ้นกะบังลม ที่กะบังลมจะมีเส้นประสาทวากัส (Vagus) ซึ่งเส้นประสาทตัวนี้เป็นพาราซิมพาเทติก เป็นเส้นประสาทมีผลต่อการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เพิ่มการทำงานของลำไส้ เส้นประสาทวากัส (Vagus) จะส่งคลื่นไปที่สมอง ทำให้หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดลดลง ชีพจรเต้นช้า หายใจช้า ดังนั้นเราจึงต้องฝึกหายใจลงไปที่ท้องแทน
เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อทุกระบบในร่างกายหดตัว เวลาเครียดเรามักจะทำหน้านิ่วคิ้วขมวด กำหมัด กัดฟัน ทุกครั้งที่รู้สึกเครียด ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวเกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ 


การฝึกคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลง เพราะในขณะที่ฝึก จิตใจ ของเราจะจดจ่ออยู่กับการคลายกล้ามเนื้อ ความคิดฟุ้งซ่าน และความวิตกกังวลก็ลดลง ช่วยให้จิตใจจะมีสมาธิมากขึ้น

วิธีการฝึก เลือกนั่งในท่าที่สบาย เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ถอดรองเท้า หลับตา ทำใจให้ว่าง ตั้งใจจดจ่ออยู่ที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ 10 กลุ่ม โดยการปฏิบัติดังนี้คือ
1. มือและแขนขวา โดยกำมือ เกร็งแขน แล้วคลาย
2. มือและแขนซ้าย ทำเช่นเดียวกัน
3. หน้าผาก เลิกคิ้วสูงแล้วคลาย ขมวดคิ้วแล้วคลาย
4. ตา แก้ม จมูก ให้หลับตาแน่น ย่นจมูก แล้วคลาย
5. ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปาก โดยกัดฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานปากแล้วคลาย เม้มปากแน่นแล้วคลาย
6. คอ โดยก้มหน้าให้คางจรดคอแล้วคลาย เงยหน้าจนสุดแล้วคลาย
7. อก ไหล่ และหลัง โดยหายใจเข้าลึกๆกลั้นไว้ แล้วคลาย ยกไหล่สูงแล้วคลาย
8. หน้าท้องและก้น โดยการแขม่วท้อง แล้วคลาย ขมิบก้นแล้วคลาย
9. เท้าและขาขวา โดยเหยียดขา งอนิ้ว แล้วคลาย เหยียดขา กระดกปลายเท้าแล้วคลาย
10. เท้าและขาซ้าย ทำเช่นเดียวกัน


ข้อแนะนำ
ระยะเวลาที่เกร็งกล้ามเนื้อ ให้น้อยกว่าระยะเวลาที่ผ่อนคลาย เช่น เกร็ง 3-5 วินาที ผ่อนคลาย 10-15 วินาที
ควรฝึกประมาณ 8-12 ครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ
เมื่อคุ้นเคยกับการผ่อนคลายแล้ว ให้ฝึกคลายกล้ามเนื้อได้เลยโดยไม่ต้องเกร็งก่อนหรืออาจเลือกคลายกล้ามเนื้อ เฉพาะส่วนที่มีปัญหาก็ได้ เช่น บริเวณใบหน้า คอ หลัง ไหล่ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องคลายกล้ามเนื้อทั้งตัวแต่ถ้ามีเวลาทำได้ทั้งหมดก็จะดีมากมาก สำหรับตัวคุณเอง


ฝึกสมาธิประจำ แก้ได้หลายโรค
หากฝึกสมาธิเป็นประจำ จิตใจก็เบิกบาน สมองแจ่มใส จิตใจเข้มแข็ง อารมณ์เย็น พร้อมตลอดเวลาไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรมากระทบ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความมั่นใจในตัวเอง เมื่อมีสมาธิที่เข้มแข็ง ปัจจุบันมีการวิจัยและค้นพบข้อดีของการทำสมาธิเช่น

  • ช่วยปรับสภาวะสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้อัตราการหายใจและชีพจรช้าลง
  • ทำให้คลื่นสมองสงบ กล้ามเนื้อผ่อนคลายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ระดับฮอร์โมนที่ถูกระตุ้นจากความเครียดลดลง
  • แก้ปัญหานอนไม่หลับได้ถึงร้อยละ 75 และ
  • ช่วยให้ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใช้ยาแก้ปวดลดลงจาก เดิมร้อยละ 34
  • ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์ มีอาการทุกข์ทรมานลดน้อยลงกว่าการรักษาเฉพาะทางทางยา
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน ความถี่หรือความรุนแรงของอาการจะลดลงร้อยละ 32
และยังพบอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยโรค หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในศาสนาจะหายเร็ว กว่า ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่นับถือศาสนาอะไรเลย จะมีอัตราการตายมากกว่าผู้นับถือศาสนาถึง 3 เท่า
ในสหรัฐอเมริกา มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบผลตรงกันว่า ชาวพุทธที่นั่งสมาธิเป็นประจำ สมองในส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ดี และ ความคิดด้านบวกจะทำงานกระฉับกระเฉงกว่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด และทำให้สมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางความทรงจำด้านร้ายสงบลง และการนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อารมณ์แปรปรวน ตกใจ เกรี้ยวกราด หรือหวาดกลัวลดลงด้วย
แพทย์โรคหัวใจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้คนไข้โรคหัวใจฝึกสมาธิระหว่างบำบัดด้วยยาไปด้วยและได้ผลเป็นที่น่าพอ ใจ เพราะทำให้ความดันโลหิตและความเครียดลดลงอย่างมาก
ฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพดี ไม่แก่ง่าย ตายเร็ว ก็ต้องเริ่มการฝึกทำสมาธิและต้องเริ่มทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย อย่าได้ผัดผ่อนเด็ดขาด
..................
บทความจาก
http://kullastree.com



 

อานิสงส์ของการทำบุญ ที่ควรรู้ไว้

( การไม่กินเนื้อสัตว์ , การสร้างพระพุทธรูป , การบวชชีพราหมณ์ , ....
รวมอานิสงส์ของการทำบุญที่ควรรู้ไว้
มาทำบุญกันเถอะค่ะ การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์หรือสังคมด้วยวิธีต่างๆ ทำให้เราได้รับบุญกุศลต่างๆ มากมาย ซึ่งในที่นี้ได้รวบรวมอานิสงส์ต่างๆ ที่ได้จากการทำบุญในรูปแบบต่างๆ ให้รู้ไว้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามนะคะ การทำบุญก็ควรทำด้วยจิตใจที่ต้องการทำบุญจริงๆ ไม่หวังผลตอบแทน จึงจะเกิดอานิสงส์อย่างแท้จริงค่ะ

อานิสงส์ 10 ข้อ ของ การไม่กินเนื้อสัตว์
1. เป็นที่รักของบรรดาเทพ พรหม ตลอดจนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย
2. จิตอันเป็นมหาเมตตาย่อมบังเกิดขึ้น
3. สามารถตัดขาดความอาฆาต ดับอารมณ์***มโหดเครียดแค้นในใจลงได้
4. ปราศจากโรคภัยร้ายแรงมาเบียดเบียนร่างกาย
5. มีอายุมั่นขวัญยืน
6. ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากเทพทั้งปวง
7. ยามหลับนิมิตเห็นแต่สิ่งที่ดีงามเป็นสิริมงคล
8. ย่อมระงับการจองเวร สลายความอาฆาตแค้นซึ่งกันและกัน
9. สามารถดำรงอยู่ในกระแสพระนิพพาน ไม่พลัดหลงตกลงสูอบายภูมิ
10. ทันทีที่ละสังขารจากโลกนี้ จิตจะมุ่งสู่สุคติภพ



อานิสงส์ การจัด สร้างพระพุทธรูป หรือ สิ่งพิมพ์ อันเกี่ยวกับ พระธรรมคำสอน เป็น กุศล ดังนี้

1. อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ
2. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย ปวงภัยไม่มีคนคิดร้ายไม่สำเร็จ
3. เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้ว ก็จะเลิกจองเวรจองกรรม
4. เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษเสือร้าย ไม่อาจเป็นภัย อยู่ในที่ใดก็แคล้วคลาดจากภัย
5. จิตใจสงบ ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการงานเป็นมงคล รุ่งเรืองก้าวหน้า ผู้คนนับถือ
6. มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏ (เกินความคาดฝัน) ครอบครัวสุขสันต์ วาสนายั่งยืน
7. คำกล่าวเป็นสัจจ์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา หนี้สินจะหมดไป
8. คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้เกิดเป็นชายเพื่อบวช
9. พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาล้ำเลิศ บุญกุศลเรืองรอง
10. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่างเอนกทุกชาติของผู้สร้างที่เกิด จะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้าปัญญาในธรรมแก่กล้าสามารถได้อภิญญาหก สำเร็จโพธิญาณ


อานิสงส์ การบวชพระบวชชีพรามณ์ (บวชชั่วคราวเพื่อสร้างบุญ,อุทิศให้พ่อแม่เจ้ากรรมนายเวร)

1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา
2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย
3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆไป
5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต
7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา
8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย
10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่ สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้างคนให้ได้บวชสนับสนุนส่งเสริม อาสาจัดการให้คนได้บวช


มาสร้างบุญบารมีกันเถอะ
1. นั่งสมาธิอย่างน้อยวันละ15นาที(หรือเดินจงกรมก็ได้) อานิสงส์ เพื่อสติปัญญาที่เฉลียวฉลาดขึ้นทั้งภพนี้และภพหน้า เพื่อจิตใจที่สว่างผ่อนปรนจากกิเลส ปล่อยวางได้ง่าย จิตจะรู้วิธีแก้ปัญหาชีวิตโดยอัตโนมัติ ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองไม่มีวันอับจน ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพกายและจิตแข็งแรง เจ้ากรรมนายเวรและญาติมิตรที่ล่วงลับจะได้บุญกุศล

2. สวดมนต์ด้วยพระคาถาต่างๆอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน อานิสงส์ เพื่อให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ชีวิตหน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เงินทองไหลมาเทมา แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง จิตจะเป็นสมาธิได้เร็ว แนะนำพระคาถาพาหุงมหากา,พระคาถาชินบัญชร,พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก เป็นต้นเมื่อสวดเสร็จต้องแผ่เมตตาทุกครั้ง

3. ถวายยารักษาโรคให้วัด,ออกเงินค่ารักษาให้พระตามโรงพยาบาลสงฆ์ อานิสงส์ ก่อให้เกิดสุขภาพร่มเย็นทั้งครอบครัว โรคที่ไม่หายจะทุเลา สุขภาพกายจิตแข็งแรง อายุยืนทั้งภพนี้และภพหน้า ถ้าป่วยก็จะไม่ขาดแคลนการรักษา

4. ทำบุญตักบาตรทุกเช้า อานิสงส ได้ช่วยเหลือศาสนาต่อไปทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ขาดแคลนอาหาร ตายไปไม่หิวโหย อยู่ในภพที่ไม่ขาดแคลน ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์

5. ทำหนังสือหรือสื่อต่างๆเกี่ยวกับธรรมะแจกฟรีแก่ผู้คนเป็นธรรมทาน อานิสงส์ เพราะธรรมทานชนะการให้ทานทั้งปวง ผู้ให้ธรรมจึงสว่างไปด้วยลาถ ยศ สรรเสริญ ปัญญา และบุญบารมีอย่างท่วมท้น เจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้ชีวิตจะเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่คาดฝัน

6. สร้างพระถวายวัด อานิสงส์ ผ่อนปรนหนี้กรรมให้บางเบา ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง แคล้วคลาดจากอุปสรรคทั้งปวง ครอบครัวเป็นสุขได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาตลอดไป

7. แบ่งเวลาชีวิตไปบวชชีพรามณ์หรือบวชพระอย่างน้อย9วันขึ้นไป อานิสงส์ ได้ตอบแทนคุณพ่อแม่อย่างเต็มที่ ผ่อนปรนหนี้กรรมอุทิศผลบุญให้ญาติมิตรและเจ้ากรรมนายเวร สร้างปัจจัยไปสู่นิพพานในภพต่อๆไป ได้เกิดมาอยู่ในร่มโพธิ์ของพุทธศาสนาจิตเป็นกุศล

8. บริจาคเลือดหรือร่างกาย อานิสงส์ ผิวพรรณผ่องใส สุขภาพแข็งแรง ช่วยต่ออายุ ต่อไปจะมีผู้คอยช่วยเหลือไม่ให้ตกทุกข์ได้ยาก เทพยดาปกปักรักษาได้เกิดมามีร่างกายที่งดงามในภพหน้า ส่วนภพนี้ก็จะมีราศีผุดผ่อง

9. ปล่อยปลาที่ซื้อมาจากตลาดรวมทั้งปล่อยสัตว์ไถ่ชีวิตสัตว์ต่างๆ อานิสงส์ ช่วยต่ออายุ ขจัดอุปสรรคในชีวิต ชดใช้หนี้กรรมให้เจ้ากรรมนายเวรที่เคยกินเข้าไป ให้ทำมาค้าขึ้น หน้าที่การงานคล่องตัวไม่ติดขัด ชีวิตที่ผิดหวังจะค่อยๆฟื้นคืนสภาพที่สดใส เป็นอิสระ

10. ให้ทุนการศึกษา,บริจาคหนังสือหรือสื่อการเรียนต่างๆ,อาสาสอนหนังสือ อานิสงส์ ทำให้มีสติปัญญาดี ในภพต่อๆไปจะฉลาดเฉลียวมีปัญญา ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอย่างรอบรู้ สติปัญญาสมบูรณ์พร้อม

11. ให้เงินขอทาน,ให้เงินคนที่เดือดร้อน(ไม่ใช่การให้ยืม) อานิสงส์ ทำให้เกิดลาภไม่ขาดสายทั้งภพนี้และภพหน้า ไม่ตกทุกข์ได้ยาก เกิดมาชาติหน้าจะร่ำรวยและไม่มีหนี้สิน ความยากจนในชาตินี้จะทุเลาลงจะได้เงินทองกลับมาอย่างไม่คาดฝัน

12. รักษาศีล5หรือศีล8 อานิสงส์ ไม่ต้องไปเกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรก ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐครบบริบูรณ์ ชีวิตเจริญรุ่งเรือง กรรมเวรจะไม่ถ่าโถม ภัยอันตรายไม่ย่างกราย เทวดานางฟ้าปกปักรักษา ทั้ง12ข้อนี้เป็นเพียงตัวอย่างบุญที่ยกขึ้นมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงอานิสงส์ ที่ท่านพึงจะได้รับ จงเร่งทำบุญเสียแต่วันนี้ เพราะเมื่อท่านล่วงลับ ท่านไม่สามารถสร้างบุญได้อีกจนกว่าจะได้เกิด หากท่านไม่มีบุญมาหนุนนำ แรงกรรมอาจดึงให้ท่านไปสู่ภพเดรัจฉาน ภพเปรต ภพสัตว์นรก ที่ไม่อาจสร้างบุญสร้างกุศลได้ ต่อให้ญาติโยมทำบุญอุทิศให้ก็อาจไม่ได้รับบุญ ดังนั้นท่านจงพึ่งตนเองด้วยการสร้างสมบุญบารมี ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ท่านจะนำติดตัวไปได้ทุกภพทุกชาติเสียแต่วันนี้ด้วยเทอญ

- จบ -
...
บทความจาก http://www.dandham.com

การเลือกของใส่บาตรตามวันเกิด

วันอาทิตย์
อาหารคาว : ประเภทไข่ ไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย ต้ม แกงกะทิ
อาหารหวาน : ไข่หวาน มะพร้าวอ่อน มะพร้าวแก้ว ขนมใส่กะทิ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำมะพร้าว น้ำขิง เงาะ
ของถวายพระ : หลอดไฟ ไฟฉาย เทียน ธูป อุปกรณ์แสงสว่าง แว่นตา หมากพลู
ไหว้พระปาง : ถวายเนตร (พระประจำวันเกิด) กำลังวันเท่ากับ 6 (สวดแบบย่อ อะ วิช สุ นุส สา นุต ติ)
ทำทาน : เติมน้ำมันตะเกียงตามวัด คนตาบอด โรงพยาบาลโรคตา มูลนิธิคนตาบอด โรงพยาบาล โรคหัวใจ มูลนิธิโรคหัวใจ
พฤติกรรม : ออกรับแสงอาทิตย์อ่อนๆ ช่วงเช้าหรือเย็นๆ เพื่อให้เกิดพลัง อย่าใจร้อน เลิกทิฐิ ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

วันจันทร์
อาหารคาว : ประเภทสัตว์ปีก สัตว์น้ำ เช่นไก่ผัดขิง ไก่ย่าง ไก่ทอด ปูผัดผงกะหรี่ ปูนึ่ง ข้าวมันไก่ ข้าวผัดปู เต้าหูทอด แกงจืดเต้าหู้ แกงเผ็ดเป็ดย่าง ปลาสลิดทอด
อาหารหวาน : น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำอ้อย โดนัท นมสด นมกล่อง เผือก มันลางสาด ขนมเปี๊ยะ
ของถวายพระ : แก้วน้ำ แจกัน ของโปร่งๆ ใสๆ
ไหว้พระ : ปางห้ามญาติ (พระประจำวันเกิด) กำลังวัน เท่ากับ 15 (สวดแบบย่อ อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา)
ทำทาน : มูลนิธิช่วยเหลือสตรี
พฤติกรรม : ทำจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส อยู่เสมอ อย่าวิตกกังวลเกินเหตุ ให้ความช่วยเหลือสตรีเช่นลุก ให้สตรีนั่งบนรถเมล์บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกให้แข็งแรง

วันอังคาร
อาหารคาว : อาหารประเภทเส้น ขนมจีน วุ้นเส้น บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว เนื้อวัว ปลาช่อนตากแห้งทอด
อาหารหวาน : ฝอยทอง สลิ่ม ลอดช่อง ทุเรียน ระกำ ขนุน น้ำสไปร์ท น้ำอัดลม
ของถวายพระ : เหล็ก เครื่องมือประเภทเหล็ก กรรไกร แปรงสีฟัน ยาสีฟัน พัดลม กรรไกรตัดเล็บ
ไหว้พระ : ปางไสยาสน์ (พระนอน) มีกำลังเท่ากับ 8 (สวดแบบย่อ ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง)
ทำทาน : คนพิการทางปาก ปากแหว่ง ผู้ป่วยโรคลมชัก
พฤติกรรม : ทำตัวให้กระฉับกระเฉง ตื่นตัว ขยันให้มากขึ้น ลดอารมณ์ร้อน การชิงดีชิงเด่น


วันพุธ (กลางวัน)
อาหารคาว : เน้นสีเขียว-หมู แกงเขียวหวานหมู หมูปิ้ง หมูทอด ผัดพริกหมู คะน้าน้ำมันหอย
อาหารหวาน : ขนมเปียกปูนเขียว น้ำฝรั่ง ชมพู่เขียว องุ่นเขียว มะม่วงเขียวเสวยฝรั่ง ชามะนาว
ของถวายพระ : สมุด กระดาษ ปากกา ดินสอ อุปกรณ์การเรียนการศึกษา
ไหว้พระ : ปางอุ้มบาตร (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 17 (สวดแบบย่อปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท )
ทำทาน : คนพิการทางหู โรงพยาบาลโรคสมอง โรงเรียนสอนคนหูหนวก
พฤติกรรม : อ่านหนังสือธรรมะ ร้องเพลง ฝึกสร้างความมั่นใจให้ตนเอง

วันพุธ (กลางคืน)
อาหารคาว : ของหมักดอง ผักกาดดองผัดไข่ อาหารกระป๋อง แกงใบยอ หมูยอ แหนม ไข่เยี่ยวม้า ห่อหมก
อาหารหวาน : ข้าวหมาก ขนมเปียกปูนดำ เฉาก๊วย ข้าวเหนียวดำ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้หัวโตๆ ทุเรียน
ของถวายพระ : พัดลม เทปธรรมะ ยาแก้โรคลม ยาหอม
ไหว้พระ : ปางป่าเลไลย์ (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 12 (สวดแบบย่อ คะ พุท ปัน ทู ธัม วะ คะ)
ทำทาน : มูลนิธิหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับยาเสพติด
พฤติกรรม : เลิกบุหรี่ เลิกดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
เลิกการพนัน เลิกทำตัวเหลวไหล เลิกเที่ยวกลางคืน เลิกยาเสพติดทุกชนิด

วันพฤหัสบดี
อาหารคาว : ประเภทเถา แกงเลียง บวบผัดไข่ น้ำเต้า
อาหารหวาน : แตงโม แตงไทย น้ำสมุนไพร ส้ม สาลี่ น้ำมะตูม น้ำว่านหางจระเข้
ของถวายพระ : สบง จีวร หนังสือธรรมะ ตู้ยา โต๊ะหมู่บูชา
ไหว้พระ : ปางสมาธิ (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 19 (สวดแบบย่อ ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ)
ทำทาน : โรงพยาบาลสงฆ์ บริจาคข้าวสาร เสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว
พฤติกรรม : นั่งสมาธิ สวดมนต์ ถือศีล5 อย่าซื่อจนเกินไป

วันศุกร์
อาหารคาว : ประเภทของหอม หวาน ข้าวหอมมะลิ ผักกาดหอม ไข่เจียวหอมใหญ่ ยำหัวหอม
อาหารหวาน : ขนมหวาน หอมทุกชนิด น้ำเก๊กฮวย ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม กล้วยหอม เค้ก
ของถวายพระ : นาฬิกา โต๊ะรับแขก ดอกไม้สวยหอม ระฆัง ย่าม
ไหว้พระ : ปางรำพึง (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 21 (สวดแบบย่อ วา โธ โน อะ มะ มะ วา)
ทำทาน : เด็กด้อยโอกาส ให้เงิน ให้เสื้อผ้า อาหารที่หอมหวานชวนกิน เช่น ไอศกรีม
พฤติกรรม : ทำตัวให้สดชื่นแจ่มใส บำรุง ดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่ตลอด จัดสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ สวยงาม เลิกการฟุ่มเฟือย

วันเสาร์
อาหารคาว : ประเภทของขม ของดำมะระยัดไส้ สะเดาน้ำปลาหวาน น้ำพริกปลาทู มะเขือยาว
อาหารหวาน : ลูกตาลเชื่อม กาแฟ โอเลี้ยง
ของถวายพระ : ร่มสีดำ กระเบื้องมุงหลังคา ไม้กวาด สร้างห้องน้ำถวายวัด
ไหว้พระ : ปางนาคปรก (พระประจำวันเกิด) มีกำลังเท่ากับ 10 (สวดแบบย่อ โส มา ณะ กะ ระ ถา โธ)
ทำทาน : โรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลโรคประสาท
พฤติกรรม : กวาดลานวัด ล้างห้องน้ำวัด ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี ขยะในบ้านยกทิ้งทุกวัน อย่าหมักหมม


เรื่องจาก FWD Mail
 โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ
"การทำบุญตักบาตร เป็นการฝึกให้ลดละการยึดติด จะได้ผลสูงสุดเมื่อผู้ทำบุญระลึกได้แน่ชัดและตั้งใจมั่น"
"ไม่ควรยึดติดกับสิ่งของ ควรเน้นความสะดวก ความเหมาะกับฐานะ และบุคคลที่จะให้ทานนั้น"

จัดสังฆทานอย่างไรให้ได้ประโยชน์

สังฆทานคืออะไร

พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด โดย พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต) วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ ให้ความหมาย “สังฆทาน” ไว้ดังนี้

“สังฆทาน” คือ ทานที่ตั้งใจถวายแก่สงฆ์หรือผู้แทนของสงฆ์ ไม่จำเพาะเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง หากถวายโดยเจาะจง เรียกว่า ‘บุคลิกทาน’ ดังนั้น สังฆทานมีอานิสงส์มากกว่าบุคลิกทาน เพราะผู้ถวายมีจิตใจที่กว้างขวาง ไม่เจาะจงว่าจะเป็นภิกษุรูปใด เป็นการแสดงถึงความตั้งใจจะถวายด้วยศรัทธาอันเป็นสาธารณะ

ดังนั้น การทำบุญเลี้ยงพระในงานต่างๆ การไปทำบุญตักบาตรที่วัด การใส่บาตรพระที่เดินบิณฑบาต หากไม่จำเพาะเจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง นับเป็นสังฆทานทั้งสิ้น

มีทานอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้ายๆ สังฆทาน เป็นทานที่มีอาณาเขตกว้างขวางกว่าคือ ทานที่ให้แก่หมู่พวกที่ไม่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเรียก สาธารณทาน เป็นทานที่ไม่จำกัดเฉพาะในรั้ววัด เป็นการให้ที่ไม่มีขอบเขต สังฆทานเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณทานเช่นนั้น

จัดสังฆทานให้ได้ประโยชน์

เดี๋ยวนี้เวลาพูดถึง “สังฆทาน” พวกเราจะนึกถึงถังสีเหลืองๆ ภายในบรรจุข้าวของเครื่องใช้เยอะแยะมากมาย จนล้นออกมาปากถัง แล้วมีพลาสติกใสหุ้มทับอีกที

แท้จริงแล้วของที่จะถวายหมู่พระสงฆ์โดยไม่เจาะจงที่เรียกว่า สังฆทาน นั้น คืออะไรก็ได้ที่เหมาะกับชีวิตสมณะ ไม่จำเป็นต้องเป็นถังเหลืองๆ ที่วางขายตามหน้าร้านสังฆภัณฑ์เสมอไป

ข้าวของเครื่องใช้ที่บรรจุมักเป็นของที่พระภิกษุเก็บไว้ใช้ในช่วงวันเข้า พรรษา (ประมาณ 3 เดือน) ส่วนมากก็จะเป็นของที่ใช้ดำรงชีวิตทั่วไปเหมือนเราๆ ท่านๆ นี่แหละ เช่น ผงซักฟอก, ยาสีฟัน, แปรงสีฟัน, สบู่, ยาสระผม เป็นต้น จะมีเพิ่มมาหน่อยก็จะเป็นผ้าอาบน้ำฝน สบงจีวรเครื่องนุ่งห่ม ที่พระภิกษุจะต้องมีไว้ใช้
ถ้าเราไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรไปถวายพระสงฆ์ดี เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยเครื่องสังฆทานที่มีจำหน่ายตามร้านบรรจุให้สำเร็จ รูป อีกทั้งการบรรจุกระป๋องก็ทำมาให้เรียบร้อยสวยงาม ซื้อปุ๊บก็ถือไปถวายปั๊บ เข้ากับยุคสมัยพอดี ไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อหามาประกอบให้ลำบาก

ถึงเวลาที่ต้องมาทบทวนการทำสังฆทานกันเสียที สังฆทานที่ดีไม่จำเป็นต้องมีของถวายมากมาย ขอเพียงเป็นของที่จำเป็นและมีคุณภาพดีเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว และการเลือกซื้อของมาประกอบเป็นสังฆทานเอง จะได้ของดีมีคุณภาพกว่าการไปซื้อ “ถังเหลืองๆ” ตามร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป หากผ้าอาบน้ำฝนราคาผืนละ 60-80 บาท ราคาถังสังฆทานก็จะประมาณ 200-600 บาท แล้วแต่ของข้างในและขนาดถัง

“ถังเหลืองๆ” ที่มีวางขายตามร้านสังฆภัณฑ์นั้น บางร้านจะยัดหนังสือพิมพ์หรือกระดาษแข็งเข้าไว้เต็มกระป๋อง ส่วนที่เป็นสังฆทานหรือข้าวของเครื่องใช้จริงๆ จะถูกบรรจุไว้แถวขอบปากถัง เพื่อให้ดูว่ามีของใช้มากมายจนล้นปากถัง แล้วเอาพลาสติกใสหุ้มอีกทีเพื่อไม่ให้ของล้นจนหก แท้จริงแล้วมีของใช้ไม่กี่อย่างเท่านั้นเอง

 ข้าวของเครื่องใช้ที่ซื้อหามาจัดเป็นสังฆทานได้

- สบู่ จัดเป็นเครื่องประทินผิว แต่พระก็ใช้ได้เพื่อทำความสะอาดและระงับกลิ่นกาย

- ยาสีฟัน ชนิดผงหรือแบบหลอดก็ได้ ยาสีฟันสมุนไพรก็น่าสนใจ

- แปรงสีฟัน เลือกที่เป็นชนิดขนแปรงอ่อนๆ จะได้สบายเหงือก

- ยาสระผม เอาไว้ใช้เวลาโกนศีรษะจะได้โกนได้ง่ายขึ้น

- ใบมีดโกน เป็นของจำเป็นมาก เพื่อใช้โกนศีรษะ

- ผงซักฟอก ใช้ซักจีวรเพื่อความสะอาด

- เครื่องดื่มสมุนไพรพร้อมชง จำพวกขิงผง ชารางจืด มะตูม, นม UHT, น้ำผัก-น้ำผลไม้ 100 % , เครื่องดื่มผสมธัญพืช หรือจะเป็นเครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ไมโลหรือโอวัลตินพร้อมดื่มก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมดูวันหมดอายุก่อนซื้อด้วย
- ผ้าอาบน้ำฝน เลือกที่เนื้อหนาๆ หรืออาจเลือกซื้อเป็นสบง (ผ้านุ่ง) หรือจะเป็นอังสะก็ได้ เพราะพระท่านมักจะมีผ้าอาบน้ำฝนอยู่มากแล้ว จะขาดแคลนก็คือสบงและอังสะ ถ้าถวายให้สามเณรก็จัดเหมือนพระเช่นกัน

- ถวายสังฆทานแม่ชี ก็เปลี่ยนจากผ้าเหลืองเป็นชุดแม่ชี ซึ่งหาซื้อได้จากวัดบวรนิเวศวิหาร, สถาบันแม่ชีไทย หรือร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป หากหาซื้อไม่ได้ก็เปลี่ยนเป็นผ้าขาวเนื้อดีตามร้านขนาด 2-4 เมตรแทน จากนั้นแม่ชีท่านจะนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อ ผ้าถุง ผ้าครอง ตามสมควร

- ซีดีธรรมะ หนังสือธรรมะ หนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หนังสือเกี่ยวกับสุขภาพ หรือหนังสือความรู้ต่างๆ ที่คิดว่าพระสงฆ์ควรรับรู้เพื่อนำไปบอกกล่าวแก่ญาติโยมได้

- ยาสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งยาแผนปัจจุบัน เช่น พาราเซตามอล ยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย ยาลดกรด ในกระเพาะอาหาร แอลกอฮอล์ล้างแผล เบตาดีนสำหรับใส่แผลสด ยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และยาทาเมื่อถูกแมลงสัตว์กัดต่อย ฯลฯ

- เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ รวมทั้ง ซองจดหมาย แสตมป์

- ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย ซึ่งวัดตามชนบทและวัดป่าสิ่งนี้ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก

- จาน ชาม ช้อน ส้อม อาจสอบถามดูว่าวัดนั้นๆ ต้องการจำนวนมากหรือไม่ จะได้จัดเป็นชุดใหญ่ถวายเป็นของสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านหยิบยืมได้ด้วยในงานบุญประเพณีต่างๆ รวมทั้งเครื่องมืองานช่าง เช่น ค้อน ตะปู ไขควง หรืองานเกษตร เช่น จอบ เสียม พลั่ว และอุปกรณ์งานทำความสะอาด เช่น ไม้กวาดอ่อน ไม้กวาดแข็ง ถังขยะ ที่ตักผง ฯลฯ

- ร่ม สำหรับให้พระท่านได้ใช้ในช่วงฤดูฝน ควรหาซื้อสีที่เหมาะสม เช่น สีดำหรือสีน้ำตาล

- บาตร ควรหาซื้อบาตรที่มีความหนาพอสมควร เวลาที่ญาติโยมใส่ข้าวสุกร้อนๆ ลงไป มือท่านจะได้ไม่พอง ที่สำคัญไม่ควรมีน้ำหนักมาก เพราะท่านต้องใช้เดินบิณฑบาตเป็นระยะทางไกล

- ของอื่นๆ ที่มักนิยมใส่ก็มี กระดาษชำระ ข้าวสาร หัวหอม กระเทียม น้ำมันพืช น้ำตาล เกลือ น้ำปลา ฯลฯ ที่จัดว่าเป็นของแห้งเก็บไว้ได้นาน ของเหล่านี้ถ้าพระท่านใช้ไม่ทัน ท่านก็มักจะเก็บรวบรวมนำไปบริจาคต่างจังหวัดอีกที นับเป็นวงจรบุญไม่มีที่สิ้นสุด

จัดเรียงข้าวของที่ซื้อมาลงในภาชนะซักผ้าที่ซื้อมาต่างหาก อาจจะเป็นถังหรือกะละมังก็ได้ แล้วนำไปถวายได้ทันที
ข้าวของบางอย่างที่ไม่ควรถวาย

- บุหรี่ กาแฟ สิ่งเสพติด เครื่องดื่มชูกำลังทุกประเภท

- ผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุด้วยโฟม เพื่อหลีกเลี่ยงมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

- อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง เพราะเป็นอาหารที่มีสารกันบูด สารเคมี ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ใส่เป็นผลไม้สดจะดีกว่า ถ้าในวัดมีครัวอาจซื้อผักสดเข้าครัวก็ได้

- ใบชาคุณภาพต่ำ พระไม่ค่อยได้ชงฉัน ควรเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มสมุนไพร ให้ประโยชน์กับสุขภาพมากกว่า

- กล่องสบู่ ปกติพระท่านมีอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องซื้อถวายอีก

- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารบิณฑบาตในตอนเช้าเป็นอาหารสด และมีคุณค่ากว่า ไม่ควรส่งเสริมให้ท่านฉันอาหารที่มีคุณค่าน้อย

- น้ำอัดลมหรือน้ำที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่นและสี เช่น น้ำส้ม น้ำองุ่นที่แต่งกลิ่นและสี

แสงสว่างไสวถึงชาติหน้า

เทียนและหลอดไฟ เป็นอีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นของนิยมในการถวาย เพราะในสมัยก่อนพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในวัดต่างจังหวัดต้องใช้เทียนเพื่อ เป็นแสงสว่างในวัด แต่ในปัจจุบันวัดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนมาใช้ไฟฟ้ากันแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าหากเราจะเปลี่ยนมาถวายหลอดไฟนีออนกันบ้าง ราคาเทียนที่ถวายกันก็จะประมาณ 150-1,600 บาท แล้วแต่ว่ามีสลักลายหรือไม่มี ถ้าขนาดเดียวกันก็จะต่างกันประมาณ 100 บาท

ถ้าดูจากความหมายแล้วก็ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่นัก เพราะนัยว่าจะทำให้ชีวิตของผู้ถวายรุ่งโรจน์สว่างไสวไปถึงภพหน้าชาติหน้า ยิ่งถ้าใครหนทางชีวิตมืดมิด ถือโอกาสดีช่วงเทศกาลเข้าพรรษานี้ถวายเทียนหรือหลอดไฟนีออนกันแก้เคล็ดสัก หน่อย สาธุ !!!

ข้อควรปฏิบัติ ในการไปวัด

๑. การแต่งกายไปวัด
ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ถ้ามีลายก็เป็นลายเรียบๆ เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบางจนเกินไป ไม่หรูหราจนเกินไป เสื้อผ้าไม่ควรหลวมหรือรัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ
สำหรับผู้หญิงควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และไม่ควรตกแต่งด้วยเครื่องประดับและเครื่องสำอาง ตลอดจนใส่น้ำหอมมากจนเกินไป ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บจนเกินงาม
เหตุที่ควรปฏิบัติเช่นนี้เพราะวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คนไปวัดเพื่อทำบุญ ทำจิตใจให้สงบ จึงควรตัดเรื่องปรุงแต่งกิเลสเหล่านี้ออกไปเสียก่อน

--------------------------------------------------------------------------------

๒. การนำเด็กหรือบุคคลอื่นๆ ไปวัด
เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก เพราะทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระศาสนา ตั้งแต่อยู่ในวัยอันสมควร แต่มีข้อระวังคือ อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะอาจก่อให้เกิดความรำคาญ หรือในกรณีที่เด็กซุกซน อาจจะส่งเสียงดังรบกวนสมาธิของผู้อื่นที่ต้องการความสงบ
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องนำบุคคลอื่นๆ เช่น พนักงานขับรถหรือคนรับใช้ไปวัดด้วย ก็ควรเปิดโอกาวให้เขาได้ร่วมทำบุญด้วย และกวดขันเรื่องกิริยามารยาทและการแต่งกาย การขับรถเข้าไปในบริเวณวัด ควรระมัดระวังในเรื่องการใช้แตร การเร่งเครื่องยนต์เสียงดัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พระกำลังสวด และการจอดรถก็ควรจอดให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่ทางวัดได้กำหนดไว้

--------------------------------------------------------------------------------

๓. การเตรียมอาหารไปวัด
อาหารที่เหมาะสมสำหรับการนำไปถวายพระภิกษุนั้น ควรเป็นอาหารที่เรารับประทานกันทั่วไป คือ ปรุงจากพืช ผัก หรือเนื้อสัตว์ที่มีขายอยู่ในท้องตลาด แต่ควรระมัดระวังอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ที่เป็นที่ต้องห้ามสำหรับพระ ภิกษุ อันได้แก่


1.เนื้อมนุษย์
3.เนื้อม้า
5.เนื้องู
7.เนื้อเสือโคร่ง
9.เนื้อเสือดาว
2.เนื้อช้าง
4.เนื้อสุนัข
6.เนื้อราชสีห์
8.เนื้อเสือเหลือง
10.เนื้อหมี
อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบๆ เลือดดิบๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ฯลฯ จนกว่าจะทำให้สุกด้วยไฟ นอกจากนั้น ไม่ควรนำอาหารที่ปรุงด้วยสุราที่มีสีหรือกลิ่นหรือรสปรากฏชัดไปถวายพระภิกษุ สงฆ์ และอย่าฆ่าสัตว์โดยจำเพาะเจาะจงว่าจะนำเนื้อนั้นไปทำอาหารถวายแด่พระภิกษุ สงฆ์

--------------------------------------------------------------------------------

๔. การเตรียมตัวก่อนไปวัด
อาจจะทำได้ดังนี้ คือ
๑. จัดทำภารกิจของตนให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นที่กังวล
๒. ทำจิตใจให้แจ่มใส โดยการระลึกถึงบุญกุศลและคุณงามความดีที่เคยได้ทำมาแล้ว
๓. รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเพื่อทำใจให้บริสุทธิ์

--------------------------------------------------------------------------------

๕. การปฏิบัติตนโดยทั่วไปภายในวัด
วัดเป็นที่รวมของคนหลายประเภทซึ่งแตกต่างกันมาก ทั้งอายุ ฐานะ และความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนนิสัยใจคอ โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังสำรวมตน โดยปฏิบัติดังนี้
๑. สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองด้วยประการทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อให้กาย วาจา ใจ ของเราเหมาะสมที่จะบำเพ็ญบุญกุศล
๒. งดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
๓. ควรนั่งให้เป็นระเบียบในสถานที่ที่กำหนดไว้
๔. ในการประกอบศาสนพิธี เช่น สวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน
๕. เมื่อมีสิ่งใดทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน กระหายน้ำ เห็นหรือได้ยินกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมของคนอื่น หรือการไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่างๆ ขอให้อดทนและแผ่เมตตา ให้ความเห็นอกเห็นใจทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าให้เกิดโทสะขึ้นได้
๖. การสนทนากับพระ ในการสนทนากับพระนั้น หากเป็นผู้ชายไม่ค่อยมีระเบียบปฏิบัติที่เคร่งครัดนัก เพียงแต่ให้ตระหนักว่าเป็นการสนทนากับพระ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของสังคม มีเพศ คือ สถานะทางสังคมเหนือกว่าตน
เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของท่าน ควรจะกราบพระพุทธปฏิมาที่ประดิษฐานอยู่ในนั้นก่อน แล้วจึงกราบพระสงฆ์ ซึ่งนิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์สำหรับคนที่ต้องแสดงความเคารพอย่างสูง
ทุกครั้งที่พูดกับท่านควรพนมมือไหว้ ใช้สรรพนามที่ใช้เรียกตนเอง เช่น "กระผม" "ดิฉัน" โดยมองที่สถานะของพระเป็นตัวกำหนด หากท่านเป็นพระธรรมดา สรรพนามที่เรียกท่านมักนิยมคำว่า "ท่าน" "พระคุณเจ้า" หากเป็นพระที่มีสมณศักดิ์สูงก็อาจจะใช้คำว่า "ใต้เท้า" "พระเดชพระคุณ" "พระคุณ" "เจ้าพระคุณ" สำหรับสมเด็จพระสังฆราชใช้คำว่า "ฝ่าบาท" สรรพนามแทนตนเองใช้คำว่า "กระหม่อม"
ในกรณีที่เป็นสตรีนั้น ควรมีผู้ชายไปด้วยจะเป็นการดี เพราะพระท่านอาจจะมีปัญหาทางพระวินัย ต้องอาบัติได้ง่ายเมื่ออยู่กับสตรีสองต่อสอง

การตักบาตรที่ได้บุญที่สุด

การตักบาตร เป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่าการทำบุญประเภทอื่น ๆ การตักบาตรนั้น
ยังถือว่าเป็นการทำบุญประจำวันของชาวพุทธ และชาวพุทธไทยเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วย
โปรดสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่น เปรตวิสัย ให้ได้รับส่วนบุญ ด้วยเหตุผลทางจิรยธรรม ในการทำบุญตักบาตรนั้น พอ
สรุปได้ดังนี้

๑.เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้
๒.เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่มใส เพื่อให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เพราะผู้ที่ไม่มีบุญ
เกื้อหนุนอยู่ในใจ ย่อมพ่ายแพ้ต่อบาปได้ง่าย
๓.เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคตถ
๔.เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตและที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต
ด้วนแต่ดำรงพระชนม์ชีพด้วยอาหารบิณฑบาต
๕.เป็นการช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ศึกษา ปฏิบัติพระธรรมวินัย
แล้วนำมาสั่งสอนให้ประชาชนไดรับรสแห่งพระธรรมด้วย อีกทั้งยังดำรงตนเป็นตัวอย่างด้านความประพฤติ ิดีงามของสังคม ฉะนั้น ชาวพุทธควรทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นการสั่งสมบุญให้แก่ตนเอง
ที่จะต้องนำไป ดุจเสบียงเดินทาง ในการท่องเที่ยวเวียนเกิดและเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสาร อันไม่ปรากฏ
เบื้องต้นและที่สุด และบุญที่สั่งสมไว้นี้ จะช่วยเกื้อกูลให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

อนึ่ง ประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น คือ เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพระพระสงฆ์ซึ่งเป็น
ผู้นำของพุทธบริษัท ที่เป็นฐานกำลังสำคัญแห่งกองทัพธรรมนั้น ท่านดำรงชีพอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่คฤหัสถ์จัด
ถวาย ท่านจึงสามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะศึกษาพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ให้เข้าใจ ทรงจำ นำมาประพฤติปฏิบัติ และกล่าวสอนมวลมนุษย์ได้

การทำบุญตักบาตรจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
๑.ต้องเตรียมใจให้พร้อม ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะบุญที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ใจของผู้ถวาย ท่านแนะนำให้รักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ขณะ คือ
๑.๑ ก่อนถวาย ตั้งใจเสียสละอย่างแท้จริง
๑.๒ ขณะถวาย ก็มีใจเลื่อมใส ถวายด้วยความเคารพ
๑.๓ หลังจากถวายแล้ว ต้องยินดีในทานของตัวเองจิตใจเบิกบานเมื่อนึกถึงทานที่ตนเองได้ถวายไปแล้ว
การทำใจให้ได้ทั้ง ๓ ขณะดังกล่าวนี้ นับว่ายากมาก เพราะมีเหตุปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้จิตใจของเรา
เศร้าหมองในขณะใดขณะหนึ่งได้
๒.ผู้รับ คือ พระภิกษุสามเณร เป็นผู้สำรวมระวัง มีข้อวัตรปฏิบัติที่ดีงามตามพระธรรมวินัย ใฝ่ศึกษาเล่าเรียน
พระพุทธพจน์ ทรงจำ นำมาบอกกล่าว สั่งสอนได้ และเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรเทาราคะ โทสะ โมหะ
จนสามารถละขาดได้อย่างสิ้นเชิง
๓.สิ่งของที่ถวาย จะต้องได้มาด้วยวิธีที่สุจริต ไม่เบีดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน และที่สำคัญคือสิ่งนั้นต้องเหมาะสม
แก่พระภิกษุสามเณรด้วย

ทำบุญตักบาตรให้หมั่นอธิษฐาน
เมื่อองค์ประกอบ ๓ อย่างข้างต้นบริบูรณ์ สิ่งที่จะต้องทำก่อนตักบาตร คือ "การอธิษฐาน" การอธิษฐานนี้นับว่า
เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะทำให้บุญของเราหนักแนน่ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นมากขี้น และยังทำให้เราทราบเป้าหมาย
ในการทำบุญด้วย นอกจากนี้ การอธิษฐานยังสามารภสร้างพลังขึ้นในจิตใจให้มากขึ้น เป็นการสั่งสมกำลังแห่งความ
บากบั่น อดทน เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญให้เราก้าวไปสู่สิ่งที่ปรารถนาได้ การอธิษฐานในขณะที่บำเพ็ญบุญนั้น ผลบุญย่อม
หนุนส่งให้สำเร็จตามที่ปรารถนาไว้ ถึงแม้จะขึ้นอยู่กับเวลาและโอกาสบ้างก็ตาม แต่ความดีที่ทำไว้ย่อมไม่เสียหายไป
แน่นอน
ฉะนั้น ก่อนตักบาตร ควรอธิษฐานโดยนั่งหรือยืนก็ได้ แล้วแต่สถานที่จะอำนวย ยกสี่งของที่จะถวายขึ้นเสมอ
หน้าผาก แล้วอธิษฐานตามที่ต้องการที่ชอบธรรมเป็นภาษาใดก็ได้ จะว่าในใจหรือออกเสียงเบา ๆ ก็ได้ จากนั้นจึงถวาย
อาหารบิณฑบาตด้วยความเคารพ ถ้ามีดอกไม้ธูปเทียนให้ถวายหลังจากที่ถวายอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ถ้าเป็นสตรี
ให้วางดอกไม้ธูปเทียนไว้บนฝาบาตร เมื่อพระท่านปิดบาตรแล้ว

คำอธิษฐานก่อนตักบาตร
ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา มีเป็นหมายเพื่อให้มนุษย์ปลดเปลื้องตนเองจากทุกข์ มีจิตใจเป็นอิสระ
เหนือทุกข์ทุกอย่าง (พระนิพพาน) หลักการดำเนินชีวีตของชาวพุทธนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งพระ
โบราณาจารย์ท่านจึงบัญญัติคำ อธิษฐานที่เป็นสากลนิยมไว้ว่า
อิทัง ทานัง สีละวันตานัง ภิกขูนัง นิยยาเทมิ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ อะนาคะเต กาเล ฯ ข้าพเจ้าขอน้อมถวายทานนี้แด่พระสงฆ์ผู้มีศีล ขอท่านที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้ว จงเป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้นเทอญ ฯ
อีกบทหนึ่งเป็นคำอธิษฐานถึงพระสังฆรัตนะ ว่า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง, เอเตนะ สังจะวัชเชนะ, โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา ฯ ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยคำสัตย์ นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ 

ทำวัตรเย็น

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ.
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
..........อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
..........พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
( กราบ )
..........สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโธ,
..........ธัมมัง นะมัสสามิ.
( กราบ )
..........สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
..........สังฆัง นะมามิ.
( กราบ )
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัญเจวะ
.......พุทธานุสสะตินะยัญจะ กะโรมะ เส ฯ
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ
.......นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ
.......นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ
.......ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุค-
คะโต อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัม-
ปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา -
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติ กะโรมะ เส ฯ (รับ) ...........พุทธะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต
.....................สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต
.....................โพเธสิ โย สุชะนะตังกะมะลังวะ สูโร
.....................วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง
ปะฐะมานุสสติฏฐานัง
พุทธัสสาหัสมิ ทาโส (ทาสี) วะ....
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ
วันทันโตหัง จะริสสามิ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ
สัพเพปิ อันตะระยา เม
สะระณัง เขมะมุตตะมัง
วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
พุทโธ เม สามิกิสสะโร
วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง
พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน
ยังปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
(กราบหมอบลงว่า)
.......... ..........กาเยนะ วาจายะ วะเจตะสา วา .......... .......... พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยายัง .......... .......... พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะ ยันตัง .......... .......... กาลันตะเร สังวะริตุง วะพุทเธ
.......... ................. ..........
(นั่งคุกเข่าว่า)
(นำ) หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส) (รับ) สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิ-
ปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ ฯ
(นำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส ฯ(รับ) ..........สวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย
.....................โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท
.....................ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี
.....................วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง.........
ทุติยานุสสะติฏฐานัง
ธัมมัสสาหัสมิ ทาโส วะ
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ
วันทันโตหัง จะริสสามิ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
ธัมมัง เมวันทะมาเนนะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม
สะระณัง เขมะมุตตะมัง
วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
ธัมโม เม สามิกิสสะโร
วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง
ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา
.......... .......... ..........(หมอบกราบพูด)
.......... ..........กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา
.......... ..........ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง
.......... ..........ธัมโม ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
.......... ..........กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม ฯ
.......... .......... ..........
(นั่งคุกเข่าว่า)
(นำ) หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส) (รับ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะ-
วะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ
ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อายุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง
ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ ฯ
(นำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส) (รับ) ............สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต
.......... ..........โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ
.......... ..........สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต
.......... ..........วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง
ตะติยานุสสะติฏฐานัง
สังฆัสสาหัสมิ ทาโส วะ
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ
วันทันโตหัง จะริสสามิ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ
สัพเพปิ อันตะรายา เม
..........
สะระณัง เขมะมุตตะมัง
วันทามิ ตัง สิเรนะหัง
สังโฆ เม สามิกิสสะโร
วิธาตา จะ หิตัสสะ เม
สะรีรัญชีวิตัญจิทัง
สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง
สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ
มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา ฯ
(กราบหมอบลงว่า)
  กาเยนะ วาจายะ เจตะสา วา
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มายา ยัง
สังโฆ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ ฯ
(นั่งพับเพียบ)
...........(สตรีเล่าบ่นและสวดแปลกอย่างนี้ พุทธัสสาหัส์มิ ทาสีวะ ฯ
ธัมมัสสาหัส์มิ ทาสีวะ ฯ สังฆัสสาหัส์มิ ทาสีวะ ฯ วันทันตีหัง ฯ พุทธัง
เม วันทะมานายะ ฯ ธัมมัง เม วันทะมานายะ ฯ สังฆัง เม
วันทะมานายะ
ถ้าคฤหัสถ์ทั้งบุรุษสตรีสวดมีความรังเกียจด้วยอสภาวะนิรุตินิ่ง
อยู่ บุรุษจะสวดว่า วันทะมาโน จะริสสามิ สตรีจะสวดว่า วันทะมานา
จะริสสาม
ิ ดังนี้พร้อมกันไป ดัง คะโต คะตา ฉะนั้นก็ควร ก็แปลว่า
ไหว้อยู่เหมือนกัน)

ทำวัตรเช้า

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ.
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
..........อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
..........พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ.
( กราบ )
..........สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโธ,
..........ธัมมัง นะมัสสามิ.
( กราบ )
..........สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
..........สังฆัง นะมามิ.
( กราบ )
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง
..........กะโรมะ เส ฯ
(รับ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ
..........นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ
..........นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมามัมพุทธัสสะ
(นำ) หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ(รับ) โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะ-
สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา, โย อิมัง โลกัง สะเทวะกัง
สะมาระกัง สะพรัหมะกัง สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะ
นุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปพเวเทสิ. สาตถัง
อาทิกัลยาณัง มัเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาคยัง
สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรัหมะจะริยัง
ปะกาเสสิ. ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูขะยามิ, ตะมะหัง ภะคะวันตัง
สิระสา นะมามิ ฯ
.......... .......... .......... ..........
(กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ(รับ) โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก
เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ. ตะมะหัง
ธมมัง อะภิปูชะยามิ, ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ.
.......... .......... .......... ..........
(กราบ)
(นำ) หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส ฯ
(รับ) โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญบะลีกะระณีโย,
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ. ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ ฯ
.......... .......... .......... ..........
(กราบ)
.......... .......... .........
ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถา
.......... .......... .......... ......
(นั่งพับเพียบ)
(นำ) หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะ
(นำ) วัตถุปะริทีปะกะปาฐัญจะ ภะณามะ เส ฯ
(รับ) พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว
..........โยจจันตะสุทธัพพะระญาณะโลจะโน
..........โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก
..........วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
..........ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย
..........มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก
..........โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน
..........วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
..........สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัญญิโต
..........โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก
..........โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส
..........วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง
..........อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง
..........วัตถุตตะยัง วันทะยะตาภิสังขะตัง
..........ปุญญัง มะยา ยัง มะมะ สัพพุปัททะวา
..........มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา ฯ
..........
(ถ้ามีเวลาพอ ให้สวด สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ ต่อไปนี้)
..........อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก
สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต มะยันตัง ธัมมัง สุตวา เอวัง
ชานามะ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค
ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ
ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา เสยยะถีทัง
รูปูปาทานักขันโธ เวทะนูปาทานักขันโธ สัญญูปาทานักขันโธ,
สังขารูปาทานักขันโธ วิญญาณูปาทานักขันโธ เยสังปะริญญายะ,
ธะระมาโน โส ภะคะวา เอวัง พะหุลัง สาวเก วิเนติ เอวัง
ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี พะหุลา
ปะวัตตะติ รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา อะนิจจา
สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจา รูปัง อะนัตตา เวทะนา
อะนัตตา สัญญา อะนัตตา สังขารา อะนัตตา วิญญาณัง อะนัตตา
สัพเพ สังขารา อะนิจจา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ เต มะยัง
โอติณณามหะ ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ ทุกโขติณณา ทุกขะปะเรตา
อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา
ปัญญาเยถาติ จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง อุททิสสะ
อะระหันตัง สัมมาสัมพุทธัง, สัทธา อะคารัส์มา อะนะคาริยัง
ปัพพะชิตา, ตัส์มิง ภะคะวาติ พรัหมะจะริขัง จะรามะ
ภิกขุนัง สิกขาชีวะสะมาปันนา, ตัง โน พรัหมะจะริยัง อิมัสสะ
เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยายะ สังวัคคะตุติ ฯ
..........
(สามเณรสวดพึงลดคำว่า ภิกขุนัง สิกขาสาชีวะสะมาปันนา
ที่อักษรสีแดงออกเสีย ถ้าคฤหัสถ์สวด ตั้งแต่ อิธะ ตะถาคะโต จนถึง
ปัญญาเยถาติ
แล้วสวดดังนี้ จิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง
สะระณัง คะตา ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ตัสสะ ภะคะวะโต
สาสะนัง ยะถาสะติ ยะถาพะลัง มะนะสิกะโรมะ อะนุปะฏิปัชชามะ
สา สา โน ปะฏิปัตติ อิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ
อันตะกิริยายะ สังวัตตะตุติ ฯ
อนึ่ง ถ้าสตรีสวด เต มะยัง นั้น ให้
แปลงเป็น ตา มะยัง บทว่า ปะรินิพพานิโก มีในฉบับ สีหฬ เป็น
ปะรินิพพายิโก
ฉะนี้ทุกแห่ง)

กรวดน้ำ อิมินา

กรวดน้ำอิมินา
(นำ) ..........หันทะ มะยัง อุททิสะนาธิฏฐานะ
(รับ) ..........อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
..........อาจริยูปะการา จะ
..........สุริโย จันทิมา ราชา
..........พรัหมะมารา จะ อินทา จะ
..........ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ
..........สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ
..........สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ
.......... ..........อิมินา ปุญญะกัมเมนะ
..........ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ
..........เย สันตาเน หินา ธัมมา
..........นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ
..........อุชุจิตตัง สะติปัญญา
..........มารา ละภันตุ โนกาสัง
..........พุทธาธิปะ วะโร นาโถ
..........นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ
..........เต โสตตะมานุภาเวนะ
คาถาโย ภะณามะ เส ฯ
อุปัชฌายา คุณุตตะรา
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)
คุณะวันตา นะราปิ จะ
โลกะปาลา จะ เทวะตา
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ
อิมินา อุททิสเสนะ จะ
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว
สัลเลโข วิริยัมหินา
กาตุญจะ วิริเยสุ เม
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม
สังโฆ นาโถ ตะโร มะมัง
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ

วันโกน-วันพระ

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่

วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ
วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

          ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น

          วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน

--------------------------------------------------------------------------

ประวัติความเป็นมา

          ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ

          พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ ( สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย )

วันเข้าพรรษา

 วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 วันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้มีอยู่ 2 วันคือ

           วันเข้าปุริมพรรษา คือเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน 11

           วันเข้าปัจฉิมพรรษา คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 9 ไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 12

           เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น อันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน 7 วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้

            1. เมื่อทายกทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
            2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้
            3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้
            4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
            5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้
            6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้ โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
            7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
            8. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
            9. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

            ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

                    อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ

            หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ

            แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้ (ว่า 3 ครั้ง)

            หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ
            ในวันเข้าพรรษานี้ตามประวัติ ชาวไทยเราได้ประกอบพิธีทางศาสนา เนื่องในวันเข้าพรรษา มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้ง พิธีหลวง และ พิธีราษฎร์ กิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะ ให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับจะได้จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือน จัดทำ เทียนจำนำพรรษา เพื่อใช้จุดบูชาพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระปริยัติธรรม ตลอดทั้ง 3 เดือน ถวายธูป เทียน ชวาลา น้ำมันตามไส้ประทีปแก่พระภิกษุสงฆ์ ที่อยู่จำพรรษาในพระอาราม

            สำหรับเทียนจำนำพรรษาจะมีการ แห่เทียน ไปยังพระอารามทั้งทางบกและทางน้ำตามแต่หนทางที่ไปจะอำนวยให้ เพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร แล้วก็จะจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย

            สำหรับการปฏิบัติอื่นๆ ก็จะมีการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัด ตามกำลังศรัทธา และขีดความสามารถของตน นับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชน จะได้ประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของพระพุทธศาสนาได้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชาหมายถึง การบูชา ในวันเพ็ญเดือน ๓ เนื่องในโอกาสคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์

ความสำคัญ
วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกันพระสงฆ์ ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์

ผู้ได้อภิญญา ๖และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการอุดมการณ์และวิธีการปฏิบัติที่ นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหา โดยสรุปคือให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดี ให้ถึงพร้อมและทำจิตใจให้ผ่องใส


ประวัติความเป็นมา
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ ๙ เดือนขณะนั้นเมื่อเสร็จพุทธกิจแสดงธรรมที่ถ้ำสุกรขาตาแล้ว เสด็จมาประทับที่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน วันนั้นตรงกับวันเพ็ญ เดือนมาฆะหรือเดือน ๓ในเวลาบ่ายพระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า มาประชุม พร้อมกัน ณ ที่ประทับของพระพุทธเจ้า นับเป็นเหตุอัศจรรย์ ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. วันนั้นเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓
๒. พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้ นัดหมาย
๓. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
๔. พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท โดยตรงจาก พระพุทธเจ้า

เพราะเหตุที่มีองค์ประกอบสำคัญดังกล่าว จึงมีชื่อเรียก อีกอย่างหนึ่งว่า วันจาตุรงคสันนิบาต และในโอกาสนี้ พระพุทธเจ้า ได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการประกาศหลักการอุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา


การถือปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย
พิธีวันมาฆบูชานี้ เดิมทีเดียวในประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอธิบายไว้ว่าเกิดขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยทรงถือตามแบบของโบราณบัณฑิตที่ได้นิยมกันว่า วันมาฆะบูรณมี พระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของ พระพุทธเจ้า ๑,๒๕๐ รูป ได้ประชุมกันพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ เรียกว่า

จาตุรงคสันนิบาตพระพุทธเจ้าได้ตรัสเทศนาโอวาทปาติโมกข์ ในที่ประชุมสงฆ์เป็นการ ประชุมใหญ่ และเป็นการอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา นักปราชญ์ จึงถือเอาเหตุนั้นประกอบ การสักการบูชาพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวก ๑,๒๕๐ รูปนั้น ให้เป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใสการประกอบพิธีมาฆะบูชา ได้เริ่มในพระบรมมหาราชวังก่อน
   
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพิธีการพระราชกุศลในเวลาเช้า พระสงฆ์ วัดบวรนิเวศวิหารและ วัดราชประดิษฐ์ ๓๐ รูป ฉันในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำ เสด็จออกทรงจุด ธูปเทียนเครื่อง มนัสการแล้ว พระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไปมี สวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วยสวดมนต์ จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ ๑,๒๕๐ เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงมีการเทศนา โอวาทปาติโมกข์
๑ กัณฑ์เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและ ภาษาไทย เครื่องกัณฑ์ มีจีวรเนื้อดี ๑ ผืน เงิน ๓ ตำลึง และขนมต่าง ๆ เทศนาจบพระสงฆ์ ซึ่งสวดมนต์ ๓๐ รูป สวดรับการประกอบพระราชกุศลเกี่ยวกับ วันมาฆบูชาในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเสด็จออกประกอบพิธีด้วยพระองค์เองทุกปีมิได้ขาด สมัยต่อมามีการเว้นบ้าง เช่น รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกเองบ้าง มิได้ เสด็จออกเองบ้างเพราะมักเป็นเวลาที่ประสบกับเวลาเสด็จประพาส หัวเมืองบ่อย ๆ หากถูกคราวเสด็จไปประพาสบางปะอินหรือพระพุทธบาท พระพุทธฉาย พระปฐมเจดีย์ พระแท่นดงรัง ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชา ในสถานที่นั้น ๆ ขึ้นอีก ส่วนหนึ่งต่างหากจากในพระบรมมหาราชวังเดิมทีมีการประกอบพิธีในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาก็ขยายออกไป ให้พุทธบริษัทได้ ปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบสืบมาจนปัจจุบัน มีการบูชา ด้วยการเวียนเทียน และบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ส่วนกำหนดวันประกอบพิธีมาฆบูชานั้น ปกติตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๓ หากปีใด เป็นอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหนจะเลื่อนไปตรงกับวันเพ็ญเดือน ๔

หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ
หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ ๓ อุดมการณ์ ๔ วิธีการ ๖ ดังนี้

หลักการ ๓
๑. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็น
ความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ ความชั่วทางกาย ได้แก่ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติ ผิดในกาม
ความชั่วทางวาจา ได้แก่ การพูดเท็จ การพูดส่อเสียด การพูดเพ้อเจ้อ
ความชั่วทางใจ ได้แก่ การอยากได้สมบัติของผู้อื่น การผูกพยาบาท และความเห็นผิดจากทำนองคลองธรรม
   
๒. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี ๑๐ อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจาและทางใจ

ความดีทางกาย ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นมีแต่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มาเป็นของตน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการไม่ประพฤติผิดในกาม
การทำความดีทางวาจา ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อพูดแต่คำจริง พูดคำอ่อนหวานพูดคำให้เกิดความสามัคคีและพูดถูกกาลเทศะ
การทำความดีทางใจ ได้แก่ การไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นมีแต่คิดเสียสละ การไม่ผูกอาฆาตพยาบาทมีแต่คิดเมตตาและ ปราถนาดีและมีความเห็นความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๓. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)
๒. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)
๓. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)
๔. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ    

๕. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ปฏิบัติสมถะผ่องใส ที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศืลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการ และวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

อุดมการณ์ ๔
๑. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ
๒. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น
๓. ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ
๔. นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จาการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ ๘

วิธีการ ๖
๑. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้ายหรือ กล่าวโจมตีใคร
๒. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม
๔. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ
๕. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ อยู่ในสถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
๖. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ฝึกหัดชำระจิตให้สงบมีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิ
ภาพที่ดี

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือน ๘ ก่อนปุริมพรรษา (ปุริมพรรษาเริ่ม ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ในปีที่ไม่มีอธิกมาสเป็นต้นไป ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑) ๑ วัน เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก ชื่อว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดพระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี ในปีแรกที่ทรงตรัสรู้และเพราะผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้เป็นเหตุให้ท่าน พระโกณฑัญญะในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้ธรรมจักษุ (โสดาปัตติมรรค หรือ โสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้สำเร็จเป็นโสดาบัน) ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไป เป็นธรรมดา แล้วขอบรรพชาอุปสมบทต่อพระองค์ เป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกของ พระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ในเมื่อวันนี้ของทุก ๆ ปี เวียนมาถึงพุทธศาสนิกชน จึงนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ และ พุทธศาสนิกชนในที่บางแห่ง ยังตั้งชื่อวันอาสาฬหบูชานี้ว่า "วันพระสงฆ์" ก็มี อาสาฬหะ คือ เดือน ๘ อาสาฬหบูชา คือ การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน ๘ ความสำคัญ ของวันเพ็ญเดือน ๘ นี้ มีอยู่อย่างไร จะได้นำพุทธประวัติตอนหนึ่งมาเล่าต่อไปนี้ นับแต่วันที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ คือ ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระองค์ประทับเสวยวิ มุตติสุขในบริเวณโพธิมัณฑ์นั้น ตลอด ๗ สัปดาห์ คือ

- สัปดาห์ที่ ๑ คงประทับอยู่ที่ควงไม้อสัตถะอันเป็นไม้มหาโพธิ์ เพราะเป็นที่ตรัสรู้ ทรงใช้ เวลาพิจรณาปฏิจจสมุปปาทธรรมทบทวนอยู่ตลอด ๗ วัน

- สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปทางทิศอีสานของต้นโพธิ์ ประทับยืนกลางแจ้งเพ่งดูไม้มหาโพธิ์โดย ไม่กระพริบพระเนตรอยู่ในที่แห่งเดียวจนตลอด ๗ วัน ที่ที่ประทับยืนนั้นปรากฎเรียกในภายหลังว่า "อนิสิมสสเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ ๓ เสด็จไปประทับอยู่ในที่กึ่งกลางระหว่างอนิมิสสเจดีย์ กับต้นมหาโพธิ์แล้วทรง จงกรมอยู่ ณ ที่ตรงนั้นตลอด ๗ วัน ซึ่งต่อมาเรียกที่ตรงนั้นว่า "จงกรมเจดีย์"

- สัปดาห์ที่ ๔ เสด็จไปทางทิศพายัพของต้นมหาโพธิ์ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิ ธรรมอยู่ตลอด ๗ วัน ที่ประทับขัดสมาธิเพชร ต่อมาเรียกว่า"รัตนฆรเจดีย์"
   

- สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จไปทางทิศบูรพาของต้นมหาโพธิ์ประทับ ที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธ อยู่ ตลอด ๗ วัน ในระหว่างนั้น ทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์ผู้หนึ่งซึ่งทูลถามในเรื่องความเป็นพราหมณ์

- สัปดาห์ที่ ๖ เสด็จไปทางทิศอาคเนย์ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้จิกเสวยวิมุตติสุขอยู่ ตลอด ๗ วัน ฝนตกพรำตลอดเวลา พญานาคมาวงขดล้อมพระองค์ และแผ่พังพานบังฝนให้พระองค์ ทรงเปล่งพระอุทานสรรเสริญความสงัด และความไม่เบียดเบียนกันว่าเป็นสุบในโลก
   
- สัปดาห์ที่ ๗ เสด็จย้ายสถานที่ไปทางทิศใต้ของต้นมหาโพธิ์ ประทับที่ควงไม้เกดเสวยวิมุตติ สุขตลอด ๗ วัน มีพาณิช ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะเดินทางจากอุกกลชนบทมาถึงที่นั้น ได้เห็นพระพุทธองค์ประทับอยู่ จึงนำข้าวสัตตุผงข้าวสัตตุก้อน ซึ่งเป็นเสบียงกรังของตนเข้าไปถวายพระองค์ทรงรับเสวยเสร็จแล้ว สองพาณิชก็ประกาศตนเป็นอุบาสก นับเป็นอุบาสกคู่แรกในประวัติกาล ทรงพิจารณาสัตว์โลกเมื่อล่วงสัปดาห์ที่ ๗ แล้ว พระองค์เสด็จกลับมาประทับที่ควงไม้ไทรชื่ออชาปาลนิโครธอีก ทรงคำนึงว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นี้ ลึกซึ้งมาก ยากที่สัตว์อื่นจะรู้ตาม จีงท้อพระทัยที่สอนสัตว์ แต่อาศัยพระกรุณาเป็นที่ตั้ง ทรงเล็งเห็นว่าโลกนี้ผู้ที่พอจะรู้ตามได้ก็คงมี ตอนนี้แสดงถึงบุคคล ๔ เหล่า เปรียบกับดอกบัว ๔ ประเภท คือ


๑. อุคฆติตัญญู ได้แก่ ผู้ที่มีอุปนิสัยสามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สอนสั่ง สอนเปรียบเทียบ เหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานในเมื่อได้รับแสงพระอาทิตย์ในวันนั้น

๒. วิปัจจิตัญญู ได้แก่ ผู้ที่สามารถจะรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านขยายความย่อให้พิสดารออกไปเปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จักบานในวันรุ่งขี้น

๓. เนยยะ ได้แก่ ผู้ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรม วิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ ได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำ แต่จะโผล่แล้วบานขี้นในวันต่อๆ ไป

๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่อง แล้วก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำติดกับเปือกตม รังแต่จะเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า เมื่อเล็งเห็นเหตุนี้ จึงตกลงพระทัยจะสอน ทรงนึกถึงผู้ที่ควรโปรดก่อนคือ อาฬารดาบส กับ อุทกดาบส ท่านเหล่านี้ก็หาบุญไม่เสียแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ปัญจวัคคีย์ จีงทรงตัดสินพระทัยว่า ควรโปรดปัญจวัคคีย์ก่อน แล้วก็เสด็จออกเดินไปจากควงไม้ไทรนั้น มุ่งพระพักตร์เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี การที่เสด็จเดินทางจากตำบลพระศรีมหาโพธิ์ จนกระทั่งถึงกรุงพาราณสีเช่นนี้ แสดงให้เห็น เพระวิริยอุตสาหะอันแรงกล้าเป็นการตั้งพระทัยแน่วแน่ ที่จะประทานปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์เป็นพวกแรกอย่างแทัจริง หนทางระหว่างตำบลพระศรีมหาโพธิ์ถึงพาราณสีนั้น ในปัจจุบัน ถ้าไปทางรถไฟก็เป็นเวลา ๗-๘ชั่วโมง การเสด็จดำเนินด้วยพระบาทเปล่า อาจใช้เวลาตั้งหลายวัน แต่ปรากฏว่าพอตอนเย็นขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอาสาฬหะนั้นเอง

พระพุทธองค์ก็เสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันแขวงเมืองพาราณสี อันเป็นที่อยู่แห่งปัจจวัคคีย์พอเสด็จ เข้าราวป่าพวกปัญจจวัคคีย์นั้นได้เห็นจึงนัดหมายกันว่า จะไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ และไม่รับบาตรจีวรจะตั้งไว้ให้เพียงอาสนะเท่านั้น เพราะเข้าใจว่าพระองค์ กลายเป็นคนมีความมักมากหมดความเพียรเสียแล้ว พอพระองค์เสด็จถึง ต่างก็พูดกับพระองค์โดยไม่เคารพ พระองค์ตรัสห้าม และทรงบอกว่าพระองค์ตรัสรู้แล้วจะแสดงธรรมสั่งสอนให้ ฟังพราหมณ์ทั้ง ๕ ก็พากันคัดค้านลำเลิกด้วยถ้อยคำต่างๆ ที่สุดพระองค์จึงทรงแจงเตือนให้รำลึกว่า พระองค์เคยกล่าวเช่นนี้มาในหนหลังบ้างหรือ ? พราหมณ์ทั้ง๕ ระลึกได้ ต่างก็สงบตั้งใจฟังธรรมทันที ค่ำวันนั้น พระองค์ประทับแรมอยู่กับพราหมณ์ทั้ง ๕ รุ่งขี้นวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ พระองค์ทรงเริ่มแสดงธัมมะ-จักกัปปวัตตนสูตร นับเป็นเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์นั้น โดยใจความคือทรงยกที่สุด ๒ ฝ่าย ได้แก่ การประกอบตนให้ลำบากด้วยการทรมานกาย และการไม่ประกอบตนให้เพลิดเพลินในกามสุข ทั้ง ๒ นี้นับว่า เป็นของเลวทราม ไม่ควรเสพเฉพาะทางสายกลางเท่านั้น เป็นข้อปฏิบัติที่สมควร แล้วทรงแสดงทางสายกลางคือ อริยมรรค ๘ ประการ ได้แก่
   


๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมัตนะ ทำการงานชอบ
๕. สัมมอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ


สรุปด้วยอริยสัจ ๔ ได้แก่
๑. ทุกข์ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒. สมุทัยเหตุให้เกิดทุกข์
๓. นิโรธความดับทุกข์
๔. มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


ชี้ให้เห็นโดยปริวรรตและอาการต่างๆ ว่า เมื่อรู้แล้วอาจยืนยันได้ว่า ตรัสรู้โดยชอบถึงความ หลุดพ้นและสุดชาติสุดภพแน่นอน ขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมนี้อยู่ ท่านโกณฑัญญะได้ส่องญาณไปตามจนเกิด "ธรรมจักษุ" คือดวงตาเห็นธรรมขึ้นทางปัญญาพระองค์ทรงทราบจึงเปล่งพระอุทานว่า "อัญญสิๆ""อัญญสิๆ"(โกณฑัญญะรู้แล้วๆ)เพราะพระองค์ทรงอุทานนี้ภายหลังท่านโกณฑัญญะจึงได้นามใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" แต่นั้นก็ทูลขอบรรพชาพระองค์ประทานอนุญาตด้วยเอหิภิขุอุปสัมปทาน นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวชตามพระพุทธองค์ ตามพุทธประวัติที่เล่ามานี้ จะเห็นว่า วันอาสาฬหบูชามีความสำคัญ คือ

๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา
๒.เป็นวันแรกที่พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ประกาศสัจจธรรมอันเป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณ
๓.เป็นวันที่พระอริยสงฆ์สาวกองค์แรกบังเกิดขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้รับประทานเอหิภิขุอุปสัมปทาในวันนั้น
๔. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระสังฆรัตนะสมบูรณ์เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะพระธรรมรัตนะพระสังฆรัตนะ

การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย

พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้น อีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชา ด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรีลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือเป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่อง กำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ให้เจ้าอาวาสแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัด คนวัดช่วยกันปัดกวาด ปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรมจักรรอบพระอุโบสถตลอดวัน ทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ยืนประนมมือสำรวมจิตโดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ
   
ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัยทำวัตรค่ำแล้ว สวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกาทำวัตรค่ำ ต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระ แสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักรกัปปวัตนสูตรแล้ว ให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตรทำนองสรภัญญะ เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนจบแล้ว ให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัยให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกิน เวลา ๒๔.๐๐ น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวาง นับแต่นั้นมาทางราชการ ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย

เมื่อวันอาสาฬหบูชาซึ่งตรงในวันเดียวกันได้เวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่งในรอบปี คือ เวียนมาบรรจบในวันเพ็ญอาสาฬหบูชาเดือน ๘ ของไทยเรา ชาวพุทธทั่วโลกจึงประกอบพิธีสักการบูชา การประกอบพิธีในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็น 3 พิธีคือ
๑.พิธีหลวง (พระราชพิธี)
๒. พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชนทั่วไป)
๓. พิธีของพระสงฆ์ (คือพิธีที่พระสงฆ์ประกอบศาสนกิจเนื่องในวันสำคัญวันนี้)

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพ
ระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘ วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้

ประวัติความเป็นมา
พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง

พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี

ครั้งนั้นพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวา หมายจะเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทาง ได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพสวนทางมา พระมหากัสสปะได้เห็นดอกมณฑารพก็ทราบว่า มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ดอกไม้นี้มีเพียงในทิพย์โลก ไม่มีในเมืองมนุษย์ การที่มีดอกมณฑารพอยู่ แสดงว่าจะต้องมีอะไร เกิดขึ้นกับพระศาสดา พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นว่า ได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับพระศาสดาบ้างหรือไม่ พราหมณ์นั้นตอบว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานไป ล่วงเจ็ดวัน แล้ว "พระศาสดาปรินิพพานแล้ว" คำนี้เสียดแทงใจของพระภิกษุปุถุชนยิ่งนัก พระภิกษุศิษย์ของพระมหากัสสปะบางรูป ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็กลิ้งเกลือกไปบนพื้น บ้างก็คร่ำครวญร่ำไห้ ว่า "พระศาสดาปรินิพพานเสียเร็วนัก" ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมเกิดธรรมสังเวชว่า "แม้พระศาสดา ผู้เป็นดวงตาของโลก ยังต้องปรินิพพาน สังขารธรรมไม่เที่ยงแท้เสียจริงหนอ"

แต่ในหมู่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น เสียงของสุภัททะ วุฑฒบรรพชิตก็ดังขึ้น "ท่านทั้งหลายอย่าไปเสียใจเลย พระสมณโคดมนิพพานไปซะได้ก็ดีแล้ว จะได้ไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช ว่าสิ่งนี้สมควรกับเรา สิ่งนี้ไม่สมควรกับเรา"
คำพูดของหลวงตาสุภัททะ เป็นที่สังเวชต่อ พระมหากัสสปะยิ่งนัก ท่านคิดว่า "พระผู้มีพระภาคยังนิพพานไปได้ไม่นาน ก็มีภิกษุบาปชนกล่าวจาบจ้วงพระศาสดา จาบจ้วงพระธรรมวินัยเช่นนี้ ถ้าเวลาผ่านไป ก็คงมีภิกษุบาปชนเช่นนี้ กล่าวจาบจวงพระธรรมวินัยเกิดขึ้นเป็นอันมาก" แต่ท่านก็ยั้งความคิดเช่นนี้ไว้ก่อน เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะกระทำสิ่งใดๆ นอกจากจะต้องจัดการ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสียก่อน

เมื่อพระมหากัสสปะ และภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ รอบเชิง ตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาทแล้ว เข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า "ขอพระยุคลบาท ของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด" เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้มั่น และน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม ครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดา ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใดๆฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น เหล่าเจ้ามัลละก็ปะพรมพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยของ หอม ๔ ชนิด รอบๆบริเวณ ก็โปรยข้าวตอกเป็นต้น แล้วจัดกองกำลังอารักขา จัดทำสัตติบัญชร (ซี่กรงทำด้วยหอก) เพื่อป้องกันภัย แล้วให้ขึงเพดานผ้าไว้เบื้องบน ห้อยพวง ของหอม พวงมาลัย พวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลำแพนไว้ทั้งสองข้าง ตั้งแต่มกุฏพันธนเจดีย์ จนถึงศาลาด้านล่าง ให้ติดเพดานไว้เบื้องบน ตลอดทางติดธง ๕ สีโดยรอบ ให้ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำ พร้อมกับตามประทีปมีด้ามไว้ตามถนนทุกสาย พวกเจ้ามัลละนำพระธาตุทั้งหลายวางลงในรางทองแล้ว อัญเชิญไว้บนคอช้าง นำพระธาตุเข้าพระนครประดิษฐานไว้บนบัลลังก์ที่ทำด้วยรัตนะ ๗ อย่าง กั้นเศวตร ฉัตรไว้เบื้องบน แล้วจัดกองกำลังอารักขาอย่างนี้คือ "จัดเหล่าทหารถือหอกล้อมพระธาตุไว้ จากนั้นจัดเหล่าช้างเรียงลำดับกระพองต่อกันล้อมไว้ พ้นจากเหล่าช้างก็เป็น เหล่า ม้าเรียงลำดับคอต่อกัน จากนั้นเป็นเหล่ารถ เหล่าราบรอบนอกสุดเป็นทหารธนูล้อมอยู่" พวกเจ้ามัลละจะจัดฉลองพระบรมธาตุตคลอด ๗ วัน ต้องการความมั่นใจว่า ๗ วัน นี้แม้จะมีการละเล่นก็เป็นการละเล่นที่ไม่ประมาท

หลังจากนั้น เมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เหล่ากษัตริยน์ในนครต่างๆ เมื่อทราบข่าวก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคของเรา" "พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น กษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราจึงมีส่วนที่จะได้พระบรมธาตุบ้าง" เหล่ามัลละกษัตริย์ก็ไม่ยอมยกให้ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา" ดังนั้น กษัตริย์ในพระนครต่างๆ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู จอมกษัตริย์แคว้นมคธ และกษัตริย์เหล่าอื่นๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่า จะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อยกกองทัพ มาถึงหน้าประตูเมือง ทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่ จึงขึ้นไปยืน บนป้อมประตูเมือง ประกาศว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิง พระบรมธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น ๘ ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะ ผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"

ในพระไตรปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรได้กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ว่า หมู่คณะเหล่านั้นตอบว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน นั่นแหละจงแบ่ง พระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อย เถิด โทณ พราหมณ์ รับคำของ หมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาค ออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าว กะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพวกท่าน จงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้า จักกระทำพระสถูป และกระทำการฉลองตุมพะบ้าง ทูตเหล่านั้นได้ให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์ ฯ

พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาค เป็นกษัตริย์ แม้ เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระ พระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละ เมือง กุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มี พระภาคไม่มี เราได้ แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้น นำ พระ อังคารไปจากที่นั้นแล้ว ฯ

ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กระทำ พระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์ พวก กษัตริย์ ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองเวสาลี พวกกษัตริย์ ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์ พวกกษัตริย์ถูลีเมือง อัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง อัลกัปปะ พวกกษัตริย์ โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองรามคาม พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้ กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ พวก เจ้ามัลละเมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและ การฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในเมืองปาวา พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูป และการ ฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ การฉลอง ตุมพะ พวกกษัตริย์โมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระอังคารในเมือง ปิปผลิวัน ฯ พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะ เป็นสิบแห่ง ทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและการก่อ พระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนาน หนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ ประเสริฐ อันสูงสุด พวก นาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดา ชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ใน คันธารบุรี อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ใน แคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีก องค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อัน จอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลาย จงประนม มือ ถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระพุทธเจ้า ทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ พระทนต์ ๔๐ องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ
( พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อที่ ๑๕๙-๑๖๒

การรักษาศีล

“ภิกษุทั้งหลาย ! การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่งอันบุคคลทำอยู่ทั้งหมดนั้น อันบุคคลอาศัยแผ่นดินดำรงอยู่บนแผ่นดินจึงทำได้ การงานที่พึงทำด้วยกำลังเหล่านี้อันบุคคลย่อมทำได้ด้วยอาการอย่างนี้ แม้ฉันใด

ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอัน น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน….. ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล ฯ”

ศีล 227 ศีลสำหรับพระภิกษุ

ศีล ๒๒๗ มีความหมายคือ ศีลสำหรับพระภิกษุ ซึ่งพระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ โดยอยู่ในภิกขุปาฏิโมกข์

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน) เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)
รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้
๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว


นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน


ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
๑.ห้ามพูดปด
๒.ห้ามด่า
๓.ห้ามพูดส่อเสียด
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ ๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ


ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า


เสขิยะ สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕.ไม่ฉันดังซูด ๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน


ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ


อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป


รวมทั้งหมดมี277ข้อ